โครงการอนุรักษ์บนเกาะเต่า
ความงามตามธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพบนเกาะเต่า
ครั้งหนึ่งเกาะเต่าเคยเป็นสถานที่พักผ่อนของแบ็คแพ็คเกอร์ แต่ก่อนหน้านั้นนานหลายปีเป็นเกาะของชาวสวนที่ทำสวนมะพร้าวและชาวประมง แต่ความงามและความหลากหลายของเกาะนี้ทำให้ผู้คนที่มาไม่สามารถเก็บเป็นความลับและบอกต่อกันจนเกาะนี้กลายเป็นที่รู้จัก
เกาะเต่ามีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่สวยงาม ปกคลุมด้วยป่าไม้เขตร้อนเขียวขจีและหินแกรนิตที่ก่อตัวกันตามธรรมชาติ
ความหลากหลายทางชีวภาพที่น่าทึ่งของเกาะเต่า
แนวชายฝั่งหินแกรนิตถูกรายล้อมเต็มไปด้วยต้นปาล์ม มีอ่าวและหาดทรายสวยๆรอบเกาะเต่า นอกจากนี้ใต้ทะเลของเกาะเต่ายังเต็มไปด้วยแนวปะการังสีสันสดใส
เกาะเต่ามีกองหินสูงกว่าระดับน้ำทะเลกว่า 300 เมตร ปกคลุมด้วยป่าฝนเขียวชอุ่มตลอดปีและเต็มไปด้วยพืชพันธุ์ที่อุดมสมบูรณ์
กองหินเหล่านี้ถูกปกคลุมด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่ เช่น เถาวัลย์ ดอกไม้แปลกๆ เฟิร์นเขตร้อน กล้วยป่าและไผ่ เป็นต้น
สัตว์ทะเลและสัตว์ป่าบนเกาะเต่า
ความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตทางทะเลถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักๆของเกาะในช่วงหลายปี แต่ระบบนิเวศบนบกและความหลากหลายทางชีวภาพก็น่าประทับใจไม่แพ้กับทางทะเลเลย
เกาะเต่าเป็นที่อยู่อาศัยของนกมากกว่า 20 ชนิด รวมถึงมีนกที่ได้รับการคุ้มครองมากที่สุดชนิดหนึ่งในประเทศไทย คือ นกชาปีไหน (Nicobar Pigeon)
สัตว์ที่พบเห็นได้ทั่วไปคือ อินทรีทะเลท้องขาวซึ่งบินอยู่เหนือน้ำตื้นชายฝั่งเพื่อล่าเหยื่อหาปลา
มีสัตว์เลื้อยคลานอีกหลายชนิดอาศัยอยู่ที่เกาะเต่าเช่น เต่าทะเล ตัวเงินตัวทอง งูเหลือม ตุ๊กแก กบและคางคกอีกหลายชนิด
ความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมบนเกาะเต่า
มีนักท่องเที่ยวมากกว่า 400,000 คนมาเกาะเต่าต่อปี ทำให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยอย่างรวดเร็วเกาะเต่าจึงต้องเจอกับความท้าทายหลายอย่างด้านสิ่งแวดล้อม และต้องมั่นใจว่าภายใต้การพัฒนานี้ ความงามตามธรรมชาติของเกาะจะยังคงได้รับการอนุรักษ์ไว้เช่นเดียวกัน
ความท้าทายที่เกาะเต่าต้องเผชิญมีทั้งทางบกและทางน้ำ ซึ่งในการอนุรักษ์นี้ต้องอาศัยความสามัคคี การร่วมใจกันของคนในชุมชนท้องถิ่นและการอนุรักษ์ที่นำโดยรัฐบาล
การรักษาสิ่งแวดล้อมบนเกาะเต่า
มีปัญหาเรื่องดินที่ต้องแก้ไข รวมถึงการกำจัดขยะ พลาสติก การจัดการบำบัดน้ำเสียและการตัดไม้ทำลายป่า
ที่เกาะเต่ามีนักดำน้ำลึก นักดำน้ำตื้นและนักท่องเที่ยวหลายพันคนมาเที่ยวทะเลเกือบทุกวัน ดังนั้นการวางแผนในการกำจัดขยะ รวมถึงการรักษาสภาพแวดล้อมทางทะเลจึงเป็นสิ่งสำคัญ
โครงการริเริ่มของชุมชนท้องถิ่นบนเกาะเต่า
การอนุรักษ์บนพื้นดินนำโดยหน่วยงานต่างๆในท้องถิ่น ได้แก่ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หรือ Department of Marine and Coastal Resources (DMCR) ศูนย์ดำน้ำต่างๆ องค์กรการกุศลด้านการอนุรักษ์ทางทะเลและความพยายามของคนในชุมชน
การวางแผนที่ดีจะทำให้แน่ใจได้ว่าแหล่งดำน้ำจะไม่แออัด และสภาพแวดล้อมทางทะเลจะไม่ถูกกดดันจากการท่องเที่ยวมากจนเกินไป
เป็นเรื่องที่ดีหากสามารถระบุภัยคุกคามต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นกับเกาะเต่าได้ เราจึงสามารถวางแผน จัดการกับผลกระทบจากภาวะต่างๆ เช่น โลกร้อนและปะการังฟอกขาวเพื่อให้ระบบนิเวศแนวปะการังสามารถเจริญเติบโตต่อไปได้
การพัฒนาอย่างยั่งยืนบนเกาะเต่า
การทำโครงการอนุรักษ์ทางทะเลและทางพื้นดินผ่านการพัฒนาอย่างยั่งยืนนี้ เป็นแนวทางปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด เพราะมีบทบาท หน้าที่ และความสำคัญอย่างยิ่งต่อการอยู่รอดของเกาะเต่า
ทั้งนี้ เพื่อให้คนรุ่นหลังยังได้เชยชมกับธรรมชาติ ความสวยงามและความหลากหลายทางชีวภาพของเกาะเต่า ชุมชนท้องถิ่นและหน่วยงานต่างๆจะทำตามแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนเพื่อปกป้องและอนุรักษ์เกาะแห่งนี้ต่อไป