ปลากระเบนทองที่เกาะเต่า
เรียนรู้เกี่ยวกับปลากระเบนทองที่เกาะเต่า
ปลากระเบนทอง เป็นปลากระเบนที่นักดำน้ำลึกและนักดำน้ำตื้นพบบ่อยที่สุดในจุดดำน้ำรอบเกาะเต่า
จะหาปลากระเบนทองบนเกาะเต่าได้ที่ไหน
ปลากระเบนทองพบได้ทั่วไปที่จุดดำน้ำรอบๆเกาะเต่า เช่น กองหินขาว กองหินทวิน อ่าวลึกและอ่าวม่วง
วิธีระบุปลากระเบนทอง
ปลากระเบนทองมีลำตัวยาวรีสีเหลืองออกน้ำตาลถึงเขียวมะกอก รูปร่างกลมแบน คล้ายแผ่นดิสก์ มีจุดสีน้ำเงินขนาดแตกต่างกันกระจายบนลำตัว ส่วนบริเวณปากด้านใต้มีสีขาว
ปลากระเบนทองมีดวงตาสีเหลืองสดยื่นโผล่ออกมาจากร่างกาย นอกจากนี้พวกมันยังมีความสามารถในการเปลี่ยนขนาดของรูม่านตาได้
ปลากระเบนทองแสนสวย
ข้างดวงตาของพวกมันจะมีช่องหายใจสองอัน ซึ่งใช้เป็นช่องทางในการรับน้ำเข้า และดันน้ำออกไปทางเหงือกแทน
หางของมันยื่นยาวออกมาจากลำตัว มีแถบสีน้ำเงินที่โดดเด่นทั้งสองด้านพาดยาวไปจนถึงปลายหาง หางของมันเหมือนหนามขนาดใหญ่และมีพิษอยู่ข้างใน
ปลากระเบนทองกว้างประมาณ 35 ซม. และยาวได้ถึง 80 ซม. โดยทั่วไปแล้ว พวกมันมีน้ำหนักเฉลี่ยไม่เกิน 5 กิโลกรัม
ลักษณะเฉพาะของปลากระเบนทอง
- ปลากระเบนทองเป็นสัตว์น้ำที่หาอาหารโดยการขุดคุ้ยทรายเพื่อล่าสัตว์ที่อาศัยอยู่ในทรายตื้นๆ เช่น กุ้ง ปู หนอน หอยแมลงภู่และปลาขนาดเล็ก
- ปลากระเบนทองมักจะแวะเวียนไปหาปลาพยาบาลเพื่อให้พวกทำความสะอาดอยู่เป็นประจำ นอกจากนี้คุณจะเห็นกุ้งตัวเล็กๆที่คอยช่วยกำจัดปรสิตออกจากร่างกายปลากระเบนทอง ซึ่งจะช่วยให้จุดและสีของมันสว่างและมองเห็นได้ชัด
- ปลากระเบนทองจะไม่ฝังตัวเองในทรายเหมือนปลากระเบนชนิดอื่นๆเพื่อหนีผู้ล่า แต่มันกลับทำให้แน่ใจว่าจุดสีฟ้าสดใสของมันจะสามารถเห็นได้ชัดเจน ซึ่งเป็นการเตือนนักล่าว่าพวกมันมีพิษร้ายแรงอยู่ที่หาง
- ปลากระเบนทองแต่ละตัวมีลายจุดสีน้ำเงินแตกต่างกัน
- ปลากระเบนทองไม่มีฟัน พวกมันบดเหยื่อและสัตว์ทะเลในปากระหว่างแผ่นเพดานแข็งๆสองแผ่น
ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับปลากระเบนทอง
ฉลามหัวค้อนและออก้ามักจะล่าลูกปลากระเบนทองวัยอ่อนเป็นอาหาร
ปลากระเบนทองเติบโตเป็นไข่อยู่ในตัวเพศเมียก่อนเป็นเวลาสี่เดือนหรืออาจถึงหนึ่งปี
เพศเมียมีลูกได้ถึง 7 ตัว ลูกปลากระเบนทองจะฟักไข่ในท้องและออกจากเพศเมียเป็นตัว นอกจากนี้พวกมันจะมีจุดสีน้ำเงินตั้งแต่แรกเกิด
สื่อสารผ่านการรับรู้ไฟฟ้า Electroreception
ปลากระเบนทองใช้ไฟฟ้าเพื่อสื่อสารกับสมาชิกตัวอื่นๆในตระกูลเดียวกับมัน การใช้คลื่นไฟฟ้ายังช่วยในการค้นหาเหยื่อโดยรับความแตกต่างของอุณหภูมิและสนามไฟฟ้าที่เกิดจากสัตว์ตัวอื่นๆในทราย
IUCN ได้ประเมินว่าปลากระเบนทองเป็นสัตว์ที่ใกล้ถูกคุกคาม Near Threatened (NT) ถึงแม้จะพบได้บ่อย แต่ปลากระเบนทองก็เผชิญกับภัยคุกคามเหมือนกัน เนื่องจากการทำลายหรือความเสื่อมโทรมของแนวปะการัง การก่อสร้าง การตกปลาและการนำปลามาอยู่ในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ