ปลากะรังลายน้ำตาลบนเกาะเต่า
เรียนรู้เกี่ยวกับปลากะรังลายน้ำตาลบนเกาะเต่า
ปลากะรังลายน้ำตาลบางครั้งเรียกว่า ปลาเก๋าเสือ เป็นปลาขนาดกลางที่อาศัยอยู่รอบแนวปะการังและกองหิน
เนื่องจากปลากะรังลายน้ำตาลอาศัยอยู่ใกล้กับก้นทะเล เป็นที่รู้จักคือ สัตว์ทะเลหน้าดิน
นักดำน้ำลึกเห็นปลากะรังลายน้ำตาลได้ในทะเลรอบเกาะเต่า พวกมันใช้แสงจากไฟฉายของนักดำน้ำลึกตอนกลางคืนเพื่อช่วยล่าเหยื่อ
จะหาปลากะรังลายน้ำตาลบนเกาะเต่าได้ที่ไหน
ปลากะรังลายน้ำตาลมีให้เห็นตามแหล่งดำน้ำยอดฮิตรอบเกาะเต่ารวมทั้งกองหินที่ค่อนข้างลึกอย่าง กองหินชุมพร กองหินตุ้งกูและจุดดำน้ำตื้นที่มีแนวปะการังอย่างกองหินขาว
วิธีการระบุปลากะรังลายน้ำตาล
ปลากะรังลายน้ำตาลเป็นปลาขนาดกลางที่มีปากใหญ่ มีฟันซี่เล็กจำนวนมากที่ด้านหน้าและยังมีเขี้ยวอีกด้วย
มีพื้นลำตัวเป็นสีเหลืองน้ำตาล มีจุดสีน้ำตาลเข้ม ส่วนหัวและแผ่นปิดเหงือกมีจุดสีน้ำตาลขนาดเล็กจำนวนมาก
ครีบกลมและหลังมีหนามหยักเล็กๆ จำนวนมากตามความยาวของพวกมัน
ปลากะรังลายน้ำตาลโตประมาณ 120 ซม. แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะมีความยาวประมาณ 50 ซม.
พฤติกรรมเฉพาะของปลากะรังลายน้ำตาล
- ปลากะรังลายน้ำตาลเป็นนักล่าซุ่มโจมตี พวกมันกินปลา กุ้งและปลาหมึกเป็นอาหาร
- ปลากะรังลายน้ำตาลพบได้รอบๆ แนวปะการังหรือแนวหินที่ระดับความลึกตั้งแต่ 60 เมตรจนถึงผิวน้ำ
- ปลากะรังลายน้ำตาลเป็นสัตว์รักสันโดษแต่พวกมันจะปกป้องดินแดนอย่างก้าวร้าว เป็นสัตว์ออกหากินตอนกลางคืน
- ปลากะรังลายน้ำตาลเป็นสิ่งมีชีวิตที่สลับทั้ง 2 เพศ เป็นเพศเมียตอนเป็นลูกปลาวัยอ่อนแต่เมื่ออายุมากขึ้นเรื่อยๆ พวกมันจะวิวัฒนาการเป็นเพศผู้ เพศเมียบางตัวอาจไม่เคยเปลี่ยนเพศเลย
- มีการรวมตัวเพื่อวางไข่ชั่วคราวโดยอาจมีปลาหลายพันตัวในช่วงเดือนที่พวกมันสืบพันธุ์
- ปลากะรังลายน้ำตาลมีอายุ 40 ปีซึ่งถือเป็นปลาที่มีอายุยาว
ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับปลากะรังลายน้ำตาล
ในระหว่างการรวมตัวเพื่อวางไข่ ปลากะรังลายน้ำตาลแสดงรูปแบบของร่างกายที่แตกต่างกัน โดยบางครั้งเพศผู้จะมีสีอ่อนลงและมีเฉดสีของร่างกายที่แตกต่างกัน
ปลากะรังลายน้ำตาลจัดอยู่ในกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายใกล้การสูญพันธุ์ (VU-Vulnerable species) ในบัญชีแดงของ IUCN Red
พวกมันเป็นปลาเศรษฐกิจชนิดหนึ่งและมีความเสี่ยงอย่างยิ่งต่อการจับปลามากเกินไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูผสมพันธุ์
เนื่องจากปลากะรังลายน้ำตาลวางไข่ในช่วงเวลาและสถานที่เฉพาะ พวกมันเป็นเป้าหมายของชาวประมงเนื่องจากเห็นได้ง่าย