เรียนรู้เกี่ยวกับ Buddy Check ในการดำน้ำลึก
หากคุณเป็นนักดำน้ำที่ผ่านการรับรองแล้ว คุณอาจจะเคยได้ยินเรื่องการตรวจสอบความปลอดภัยก่อนลงน้ำมาบ้างแล้ว หรือที่เราเรียกว่า “บัดดี้เช็ค” (Buddy Check).
เมื่อคุณเริ่มดำน้ำมากขึ้น คุณก็จะได้ทำบัดดี้เช็คมากขึ้นเช่นกัน จนพฤติกรรมนี้กลายเป็นลักษณะนิสัยของนักดำน้ำไปโดยปริยาย และกลายเป็นสิ่งที่ต้องทำก่อนการดำน้ำทุกครั้งในฐานะนักดำน้ำที่รอบคอบและดำน้ำอย่างปลอดภัย
การทำบัดดี้เช็คสำคัญมาก เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจในเรื่องความปลอดภัยของนักดำน้ำ และการทำตามขั้นตอนอย่างครบถ้วนก่อนลงน้ำนั้น จะช่วยให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ทั้งหมดทำงานอย่างถูกต้อง
เพื่อความปลอดภัยของนักดำน้ำ
นอกจากนี้การทำบัดดี้เช็ค เป็นโอกาสที่คุณจะได้ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ดำน้ำของบัดดี้ไปในตัว เนื่องจาก บัดดี้อาจจะไม่ได้ใช้อุปกรณ์หรือรูปแบบการทำงานเดียวกันกับคุณ ซึ่งถือเป็นอีกขั้นตอนที่สำคัญก่อนลงน้ำ.
ซึ่งหากเกิดกรณีฉุกเฉิน การทำบัดดี้เช็คก่อนลงน้ำนี้ จะทำให้คุณสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่างๆได้ดีขึ้น หากคุณเข้าใจการทำงานของอุปกรณ์ก่อนลงน้ำ.
การทำบัดดี้เช็ค จะสอนให้นักเรียนที่เรียนดำน้ำในหลักสูตรระดับเริ่มต้นของ PADI ได้แก่ หลักสูตร PADI Scuba Diver หรือ PADI Open Water.
การทำบัดดี้เช็คมี 5 ขั้นตอน และในสื่อคู่มือการเรียนของ PADI คุณมักจะเห็นตัวย่อ “BWRAF” ปรากฏขึ้นอยู่บ่อยๆ ซึ่งทุกตัวอักษรเป็นอักษรตัวแรกของการทำบัดดี้เช็คใน 5 ขั้นตอน.
BWRAF ตัวอักษรย่อ – การดำน้ำลึก
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา PADI และเหล่าครูสอนของพวกเขานั้น มีความคิดสร้างสรรค์จนสามารถคิดคำย่อเหล่านี้ขึ้นมาในรูปแบบที่หลากหลายและ แต่ละคำให้ความหมายที่แตกต่างกันในการจำตัวอักษรตัวแรกเหล่านี้.
PADI ใช้คำว่า Begin with Review and Friend บนแผ่นกระดานสเลต RDP ของ PADI ที่ต้องใช้เรียนเพื่อการวางแผนการดำน้ำในระหว่างหลักสูตร Open Water.
คำอื่นๆ ที่คุณอาจได้ยินมาบ้าง ได้แก่ Bruce Willis Ruins All Films หรือ Bruce Willis Rocks All Films ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าคุณชอบเขาในฐานะนักแสดงหรือไม่ และอีกคำคือ Beer Wine Rum Always Fun.
ถึงเวลาพิจารณาขั้นตอนอย่างละเอียดทั้ง 5 ขั้นตอน ว่าคุณจะต้องทำการตรวจสอบอะไรบ้างและความสำคัญที่เกี่ยวข้องกันใน 5 คำนี้.
B – BCD (อุปกรณ์ควบคุมการลอยตัว)
ขั้นตอนแรกของการทำตรวจสอบความปลอดก่อนลงน้ำ คือ ตรวจ BCD แม้ว่าชื่อที่เหมาะสมกว่าอาจเป็นคำว่า buoyancy แต่เพราะว่าขั้นตอนนี้มักสับสนกับขั้นตอนที่ 3 – Releases ตัวล็อค.
ในขั้นตอนนี้คุณจะต้องเติมลมเข้าและปล่อยลมออกจาก BCD ของเพื่อน โดยใช้ปุ่มกดจากท่อเติมลม (LPI).
คุณจะต้องตรวจสอบว่า BCD นั้นกักเก็บอากาศได้หรือไม่ เพื่อช่วยให้คุณสามารถลอยตัวที่ผิวน้ำได้เมื่ออยู่ในน้ำหรือ (ถ้าจำเป็น) และเพื่อช่วยให้คุณสามารถควบคุมการลอยตัวที่เป็นกลางระหว่างการดำน้ำ.
การเติมลมเข้า&การปล่อยลมออก BCD
คุณจะต้องทดสอบว่าคุณสามารถเติมลมเข้า BCD ทางปากได้หรือไม่ โดยเป่าลมเข้าไปในช่องเติมลมของท่อ LPI และขณะเดียวกันต้องกดปุ่ม ปล่อยลมออกค้างไว้แล้วจึงสามารถเป่าลมได้.
จากนั้นให้คุณตรวจสอบด้วยการปล่อยลมตามจุดต่างๆโดยใช้ Dump Valve เป็นตัววาล์วปล่อยลมได้อย่างรวดเร็วบน BCD และเพื่อตรวจสอบว่ามันสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง.
ในขั้นตอนแรกนี้ เพื่อตรวจสอบการทำงานของระบบ BCD ว่าสามารถเติมลมและปล่อยลมได้อย่างถูกต้อง และเพื่อทำความคุ้นเคยกับ BCD ของเพื่อนของคุณด้วย.
ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีให้คุณได้รู้ว่าปุ่มเติมลมจาก LPI ของเพื่อนนั้นทำงานอย่างไร และรู้ถึงตำแหน่งของวาล์วปล่อยลมต่างๆว่าอยู่ที่ใดบ้าง.
W – Weight System ระบบน้ำหนักตะกั่ว – การดำน้ำลึก
เมื่อเราดำน้ำลึก เราจะต้องนำน้ำหนักตะกั่วติดไปด้วย เพื่อช่วยให้เราสามารถลงไปใต้น้ำได้ ส่วนจำนวนน้ำหนักที่คุณต้องใช้นั้นจะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล.
หากคุณกำลังดำน้ำด้วยชุดดำน้ำที่หนา เช่น ชุดดำน้ำแบบยาว หนา 7 มม. หรือชุดดำน้ำแบบแห้ง คุณจะต้องใช้น้ำหนักที่มากขึ้นเมื่อเทียบกับการดำน้ำด้วยกางเกงขาสั้น หนา 3 มม. หรือแรชการ์ด.
สภาพแวดล้อมที่คุณกำลังจะลงไปดำน้ำ จะเป็นตัวช่วยในการกำหนดจำนวนน้ำหนักที่คุณต้องใช้ในไดฟ์นั้นๆ.
ในหลักสูตร PADI Open Water นักเรียนทุกคนจะได้เรียนเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างน้ำจืดและน้ำเค็มและผลกระทบที่มีผลต่อการลอยตัวของเรา.
ระบบน้ำหนักตะกั่วและการลอยตัว
เมื่อดำน้ำในทะเลหรือในน้ำเกลือ คุณจะต้องใช้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการดำน้ำในทะเลสาบน้ำจืด.
บนเกาะเต่าอุณหภูมิของน้ำทะเลค่อนข้างคงที่ และแทบจะไม่ลดต่ำกว่า 26 องศาเซลเซียส.
ซึ่งหมายความว่า คุณไม่จำเป็นต้องใช้ชุดดำน้ำที่หนามาก และยังหมายความว่าคุณไม่จำเป็นต้องใช้น้ำหนักจำนวนมากเพื่อชดเชยกับการลอยตัวที่เพิ่มเข้ามาจากชุดดำน้ำของคุณ.
ยกเว้นการฝึกในแหล่งน้ำตื้น ซึ่งสามารถทำได้ในสระว่ายน้ำ แต่การดำน้ำทั้งหมดจะทำในทะเล
การตรวจสอบระบบน้ำหนักก่อนลงน้ำ
หากคุณฝึกดำน้ำในแหล่งน้ำจืด คุณสามารถใช้น้ำหนักน้อยลงได้ เมื่อเทียบกับน้ำหนักที่คุณต้องใช้ในการดำน้ำในทะเล.
สำหรับขั้นตอนที่สองของการทำบัดดี้เช็ค เราจะต้องตรวจสอบก่อนว่า เพื่อนของเราไม่ลืมที่จะใส่น้ำหนักตะกั่วก่อนใส่อุปกรณ์ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่น่าอาย หากรู้ตัวหลังจากลงน้ำไปแล้ว.
ระบบน้ำหนักตะกั่วมีหลายประเภทให้เลือกใช้ มีตั้งแต่แบบเป็นสายรัดเข็มขัดถ่วงน้ำหนัก หรือกระเป๋าน้ำหนักใส่รวมใน BCD และการทำบัดดี้เช็คจะช่วยให้คุณมีโอกาสได้ทำความคุ้นเคยกับประเภทของระบบน้ำหนักต่างๆที่เพื่อนของคุณสวมใส่อยู่และรู้วิธีการทำงานของมัน.
ใช้มือขวาปลดเข็มขัดน้ำหนัก
หากเพื่อนของคุณใส่เข็มขัดแบบสายรัดถ่วงน้ำหนัก ควรใส่สายให้สามารถปลดเข็มขัดด้วยมือขวาได้ทุกครั้งเสมอ ซึ่งหมายความว่า การใส่เข็มขัดแบบนี้ จะทำให้คุณสามารถปลดเข็มขัดน้ำหนักได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการใช้มือขวาดึงออกเพียงครั้งเดียว.
นอกจากนี้คุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจด้วย ว่าสายเข็มขัดน้ำหนัก ไม่ได้ซ่อนไว้ใต้แถบสายรัดตีนตุ๊กแก หัวเข็มขัดหรือคลิปล็อคของ BCD มิฉะนั้น ในกรณีฉุกเฉิน คุณจะไม่สามารถปลดน้ำหนักออกได้อย่างรวดเร็ว.
แต่หากเพื่อนของคุณใช้ระบบถ่วงน้ำหนักแบบกระเป๋าใส่ใน BCD คุณต้องเข้าใจการทำงานของระบบปลดล็อคว่าทำงานอย่างไร และตรวจสอบให้แน่ใจว่าเพื่อนของคุณใส่น้ำหนักตะกั่วและล็อคแน่นดีเรียบร้อยแล้วก่อนลงน้ำ.
R – Releases Check – ตัวปลดสายรัด – การดำน้ำลึก
เป้าหมายหลักของการตรวจสอบตัวปลดสายรัด คือการทำความคุ้นเคยกับการใช้งานของมัน คุณถึงจะสามารถช่วยเหลือเพื่อนของคุณในกรณีฉุกเฉินได้ ด้วยการปลดสายรัดออกได้อย่างรวดเร็ว.
นอกจากนี้คุณต้องตรวจสอบด้วย ว่าเพื่อนของคุณได้รัดสายรัดอย่างถูกต้องทุกอันหรือไม่ เนื่องจากจะช่วยเรื่องการควบคุมการลอยตัวในน้ำด้วย.
และ BCD ทุกตัวจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับยี่ห้อนั้นๆ แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นแบบสายสะพายไหล่สองเส้นและมีคลิปหนีบที่หน้าท้องหรือหัวเข็มขัดแบบรัด.
นอกจากนี้ยังมีสายรัดแบบผูกมาพร้อมกับแถบตีนตุ๊กแกที่พันรอบเอว และมี BCD จำนวนมากที่มีสายรัดตรงหน้าอกเล็กๆด้วย.
ตรวจสอบสายรัดทั้งหมดก่อนลงน้ำ
ในขั้นตอนของการทำบัดดี้เช็คนี้ คุณจะต้องตรวจสอบสายรัดที่ตัวถังว่ารัดแน่นปลอดภัยดีแล้วหรือไม่ เพื่อไม่ให้ถังเลื่อนออกมาได้.
และหาก BCD ที่มีสายรัดนิรภัยไว้คล้องรอบวาล์วถัง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเพื่อนของคุณไม่ลืมที่จะใส่สายนี้ในระหว่างการประกอบอุปกรณ์.
สายรัดนิรภัยที่ไว้คล้องตัววาล์วถังนี้ นักดำน้ำมือใหม่มักจะลืมอยู่บ่อยครั้ง และเป็นสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญของ PADI ของเรา จะคอยตรวจตราและดูแลระหว่างการทำ บัดดีเช็ค.
A – Air Supply – ตัวจ่ายอากาศ- ดำน้ำลึก
ขั้นตอนที่สำคัญมากในการทำบัดดี้เช็ค คือการตรวจสอบตัวจ่ายอากาศของคุณ และคุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า คุณได้เปิดวาล์วถังอากาศแล้วและไม่ได้เปิดแค่เพียงบางส่วน.
สิ่งที่คุณต้องทำต่อ คือหายใจจาก Regulator หลักของคุณ พร้อมกับให้เพื่อนของคุณใช้แหล่งอากาศสำรองของคุณพร้อมกัน.
และทั้งสองคนจะต้องหายใจเข้าพร้อมกัน ซึ่งจะทำให้ระบบการจ่ายอากาศตึงขึ้นกว่าเดิม เพื่อทำการตรวจสอบตัววัดความดันใต้น้ำ (SPG) หรือมาตรวัดอากาศ เพื่อให้แน่ใจว่า เข็มจะไม่ขยับไปมาเมื่อคุณหายใจเข้าพร้อมกันทั้งสองทาง.
เปลี่ยนถังอากาศหากมีข้อผิดพลาด
หากเข็มเคลื่อนที่ โดยตีกลับไปจนเกือบเป็นศูนย์ ก่อนที่จะกลับไปยังค่าความดันที่เราเห็นก่อนหน้านี้ แสดงว่ามีการเปิดวาล์วแค่เพียงบางส่วนหรือถังอากาศมีปัญหา.
คุณสามารถตรวจสอบที่ตัวจับของถัง และตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้เปิดถังออกจนสุดแล้ว และดูว่าวิธีนี้จะช่วยแก้ปัญหาหรือไม่ ถ้าหากยังเป็นแบบเดิมควรเปลี่ยนไปใช้ถังอื่น.
การระบาดใหญ่ของ COVID-19 ทั่วโลก ได้เปลี่ยนแปลงข้อบังคับใช้เล็กน้อย ในการทำขั้นตอนนี้ เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อโรค.
การตรวจสอบ Regulator ก่อนลงน้ำ
แทนที่จะให้เพื่อนของคุณหายใจจากแหล่งอากาศสำรองแบบเดิม คุณจะต้องกดปุ่มจ่ายอากาศจากแหล่งอากาศสำรองของคุณเอง และหายใจเข้าจาก Regulator หลักของคุณพร้อมกัน และตรวจสอบเข็ม SPG ว่าขยับหรือไม่.
ด้วยวิธีนี้จะเป็นการหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน จากการใช้ปากเป่าแหล่งอากาศสำรอง เราจะใช้ในกรณีที่ฉุกเฉินจริงๆ.
หากคุณต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม คุณสามารถอ่านบทความของเราเกี่ยวกับการลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของโรค COVID-19 เมื่อดำน้ำลึก.
F – Final Check การตรวจครั้งสุดท้ายก่อนลงน้ำ
Final check การตรวจครั้งสุดท้าย คือการตรวจสอบขั้นสุดท้ายก่อนลงน้ำจริงๆ และตอนนี้เป็นการตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณมีทุกสิ่งที่คุณต้องการ สำหรับการดำน้ำ นอกเหนือจากสิ่งที่คุณได้ตรวจสอบไปแล้วหรือไม่.
คุณต้องมั่นใจว่า คุณมีหน้ากากดำน้ำและตีนกบ หากคุณกำลังดำน้ำและต้องใช้คอมพิวเตอร์ดำน้ำ ตรวจสอบให้แน่ใจว่า คุณได้พกติดตัวไปด้วยและคอมพิวเตอร์ดำน้ำของคุณใช้งานได้ปกติและตั้งค่าไว้ถูกต้องเหมาะสม และไม่ได้ตั้งค่าโหมดไนตรอกซ์ในกรณีที่คุณดำน้ำด้วยอากาศปกติ.
หากคุณเป็นคนที่รับผิดชอบในการนำทางใต้น้ำ คุณต้องตรวจสอบอีกครั้งให้แน่ใจ ว่าคุณมีเข็มทิศอยู่กับตัวหรือไม่.
ความคล่องตัวของอุปกรณ์ดำน้ำ
การตรวจสอบขั้นสุดท้าย จะเป็นโอกาสที่คุณจะได้ตรวจสอบว่าอุปกรณ์ทั้งหมดของคุณเป็นระเบียบ มีความคล่องตัวหรือไม่ และทั้งหมดได้ล็อคอย่างถูกต้องและปลอดภัย.
ในฐานะนักดำน้ำ คุณไม่ควรมีสายที่ห้อยระโยงระยาง ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมใต้น้ำและสิ่งมีชีวิตใต้น้ำที่มีความบอบบาง.
นอกจากนี้ การจัดตัววัดความดัน SPG และแหล่งอากาศสำรองให้อยู่ในที่ๆเหมาะสม จะช่วยหลีกเลี่ยงความเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ของคุณขณะดำน้ำ.
การฝึกบ่อยๆทำให้ชำนาญ
การทำบัดดี้เช็ค เป็นสิ่งสำคัญมากเพื่อความปลอดภัยของนักดำน้ำ และคุณต้องแน่ใจว่า คุณได้ทำบัดดี้เช็คทุกครั้งก่อนลงน้ำ และปฏิบัติตามขั้นตอนที่อธิบายไว้ข้างต้น.
นักดำน้ำทุกคนควรให้ความสำคัญกับการทำ บัดดี้เช็ค ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการดำน้ำ เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันไม่ให้เกิดเหตุฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์.
เมื่อคุณลงทะเบียนหลักสูตร PADI ซึ่งเป็นรูปแบบโครงสร้างการดำน้ำจริง คุณจะต้องทำการตรวจสอบความปลอดภัยก่อนลงน้ำเสมอ.
ฝึกการทำบัดดี้ก่อนลงน้ำทุกครั้ง
ในหลักสูตร PADI Open Water คุณจะต้องฝึกการทำบัดดี้เช็ค อย่างน้อย 6 ครั้ง.
หากคุณเรียนต่อด้วยหลักสูตรการดำน้ำขั้นสูง PADI Advanced Open Water เลย คุณจะได้ฝึกทำบัดดี้เช็ค อีก 5 ครั้ง.
เพราะการทำบัดดี้เช็คบ่อยขึ้น จะทำให้คุณปรับทักษะของตัวเองได้ดีที่สุด ซึ่งจะทำให้การดำน้ำของคุณดำเนินไปอย่างราบรื่น สนุกสนาน ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน.